สนาม: Tencent
บทนำ: 7 ชื่อว่าที่ กกตชุดใหม่บางคนอาจไปไม่ถึงฝั่ง โดนสอยร่วง โฆษกวิปฯ ระบุ สนชอาจลงมติเห็นชอบบางคน-ไม่เห็นชอบบางคน ตั้ง กมธสอบประวัติฯ พฤหัสบดีนี้ สมเจตน์ เตือน บิ๊กตู่ อย่าตกหลุมพรางนักการเมือง ใช้ ม44 ระงับไม่ต้องไพรมารีโหวต พลอสมเจตน์ บุญถนอม สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช) ในฐานะอดีตประธาน กมธวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง กล่าวถึงข้อเสนอจากนักการเมืองให้ใช้อำนาจของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช) ตามมาตรา 44 ยกเลิกการใช้ระบบเลือกตั้งขั้นต้นเพื่อหาผู้สมัคร สส (ไพรมารีโหวต) ว่าถือเป็นความเสี่ยงที่ คสชอาจจะทำสิ่งที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ หากไม่พิจารณาให้รอบคอบ เพราะบทบัญญัติในร่าง พรปว่าด้วยพรรคการเมืองที่กำหนดให้พรรคทำไพรมารีโหวตนั้น ถือเป็นบทบัญญัติที่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญในประเด็นของการให้สมาชิกพรรคมีส่วนร่วมต่อการเลือกผู้สมัครและประเด็นการปฏิรูปการเมือง เรื่องนี้เข้าใจถึงที่มาของข้อเสนอให้ยกเลิก เพราะพรรคการเมืองกังวลเรื่องจำนวนสมาชิกพรรคที่มีไม่ถึงเกณฑ์ทำไพรมารีโหวต ล่าสุดมีสมาชิกที่ยืนยันเป็นสมาชิกพรรคการเมืองของบางพรรคไม่ถึงเกณฑ์กำหนด แต่ในเนื้อหากฎหมายได้ระบุข้อยกเว้นไว้ว่าหากพรรคไหนมีตัวแทนจังหวัด และมีสมาชิกพรรค เกิน 100 คนในจังหวัดใด ให้พรรคนั้นส่งผู้สมัครได้ทุกเขตของจังหวัดนั้น ดังนั้นในการเลือกตั้งครั้งแรก หากพรรคการเมืองใดจะส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้ง 350 เขต ต้องมีสมาชิกพรรคกระจายตัวอยู่ทั่วประเทศอย่างน้อย 9,200 คน แบ่งเป็นใน 72 จังหวัด ที่ต้องมีตัวแทนประจำจังหวัด โดยใช้สมาชิกพรรคจังหวัดละ 100 คน ทำให้ต้องมีฐานสมาชิกจำนวน 7,200 คน และอีก 4 จังหวัดที่กฎหมายกำหนดให้ต้องมีสาขาพรรค โดยใช้ฐานสมาชิก สาขาละ 500 คน ทำให้ต้องมียอดสมาชิกรวม 2,000 คน พลอสมเจตน์กล่าว พลอสมเจตน์กล่าวต่อว่า พรรคการเมืองใดจะส่งผู้สมัคร สส ต้องหาสมาชิกให้มากขึ้น และฐานสมาชิกนั้น เท่ากับเป็นการเพิ่มคะแนนให้กับพรรคด้วย เรื่องนี้เข้าใจว่าไม่ง่าย แต่เมื่อเราต้องการเดินไปข้างหน้า และเพื่อให้มีอนาคตที่ดี ควรจะเริ่มจากความไม่ง่ายนั้น ไม่ใช่ไม่ยอมลำบากเลย แล้วต่อไปปัญหาทางการเมืองก็จะอาจจะเกิดขึ้นได้อีก มองข้อเสนอที่ให้ใช้มาตรา 44 ยกเลิกหรือละเว้นการใช้ไพรมารีโหวต แม้จะต้องการแก้ปัญหาของพรรคการเมือง แต่ผลที่เกิดขึ้นอาจลามไปสู่ปัญหาที่ใหญ่กว่า คือ คสชทำผิดต่อรัฐธรรมนูญ ดังนั้นข้อเสนอที่เกิดขึ้นอาจเป็นการขุดบ่อเพื่อวางกับดักให้กลายเป็นปัญหาของ คสชได้ในอนาคต ผู้สื่อข่าวถามว่า เหตุผลที่นักการเมืองเสนอเพราะมีอุปสรรคต่อการหาสมาชิกพรรคใหม่ไม่ได้ เนื่องจากมี 2 คำสั่งของ คสชห้ามดำเนินการ พลอสมเจตน์ กล่าวโดยเชื่อว่า คสชอยู่ระหว่างการปรับแก้ไขคำสั่ง หรือมาตรการทางกฎหมายเพื่อลดอุปสรรคที่จะเกิดกับพรรคการเมือง และเมื่อ คสชปลดล็อกอนุญาตให้พรรคการเมืองทำกิจกรรมได้แล้ว เชื่อว่าพรรคการเมืองจะมีเวลามากพอที่จะหาสมาชิกได้ทัน อย่างน้อย 8 เดือนเมื่อนับถึงวันเลือกตั้งช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2562 หรือจะเลิกในช่วงเดือนมิถุนายนนี้ ด้านความคืบหน้าการเตรียมเลือกกรรมการการเลือกตั้ง (กกต) ชุดใหม่ นพเจตน์ ศิรธรานนท์ โฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (วิป สนช) กล่าวถึงการประชุม สนช วันที่ 10 พฤษภาคมว่า มีวาระพิจารณารายชื่อของบุคคลที่ได้รับการเสนอให้ดำรงตำแหน่งกรรมการการเลือกตั้ง (กกต) จำนวน 7 คน ตามที่คณะกรรมการสรรหา กกต ที่มีนายชีพ จุลมนต์ ประธานศาลฎีกา เป็นประธานกรรมการสรรหาฯ เสนอรายชื่อ 5 คน และจากตัวแทนของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาอีก 2 คน โดยในการพิจารณาดังกล่าว จะเป็นเพียงการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบประวัติ ความประพฤติและพฤติกรรมทางจริยธรรมขึ้นมาตรวจสอบประวัติเชิงลึกของทั้ง 7 คน ก่อนที่จะนำเสนอรายงานเพื่อให้ที่ประชุม สนช พิจารณาลงมติว่าจะให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นไม่เกินต้นเดือนสิงหาคมนี้ นพเจตน์กล่าวว่า สำหรับรายชื่อที่มาจากการสรรหาบุคคลที่เข้าสมัครรอบล่าสุด ถูกตั้งข้อสังเกตว่ามีอย่างน้อย 2 คนใน 5 คน ที่สมัครเข้ารับการสรรหาเป็น กกตรอบแรก แต่ไม่ผ่านขั้นตอนตรวจสอบคุณสมบัตินั้น เป็นประเด็นที่ สนชสามารถตั้งคำถาม หรือมีข้อสงสัยได้ แต่ในวาระพิจารณาวันที่ 10 พฤษภาคมนั้น ไม่เหมาะสมที่จะอภิปรายหรือซักถามใดๆ เพราะคณะกรรมการสรรหาฯ ไม่ได้ร่วมประชุม แม้นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช ฐานะหนึ่งในกรรมการสรรหาฯ จะอยู่ร่วมการประชุม แต่ถือเป็นดุลยพินิจที่ประธาน สนชจะปฏิบัติหน้าที่เป็นประธานการประชุม ในช่วงวาระพิจารณาหรือไม่ก็ได้ คำถามที่สมาชิกสงสัย อาจต้องนำไปสอบถามกันในชั้นตรวจสอบประวัติ ความประพฤติ และพฤติกรรมทางจริยธรรม ว่าเหตุใดผู้ที่ไม่ผ่านการเลือกรอบแรก ทำไมถึงได้รับเลือกในรอบล่าสุดนี้ หากเป็นกรณีที่ผู้สมัครกลับไปแก้ไขคุณสมบัติตัวเอง เช่น กรณีถือครองหุ้น ที่เขาขายหรือมอบให้บุคคลอื่นครอบครองไปแล้ว อาจจะถือว่าผ่านคุณสมบัติก็ได้ ขณะที่ตำแหน่งทางราชการที่รอบแรกไม่สามารถเทียบเคียงได้กับตำแหน่งอธิบดีหรือเทียบเท่า แต่รอบนี้สามารถนำมาเทียบเคียงกัน เช่น ตำแหน่งเอกอัครราชทูตนั้นเป็นประเด็นที่คณะกรรมการสรรหาฯ ต้องชี้แจง อย่างไรก็ตาม ผมเชื่อว่าการตีความของคณะกรรมการสรรหาฯ ต้องเป็นไปภายใต้กรอบกฎหมาย นพเจตน์ กล่าว เมื่อถามถึงกระแสข่าวอาจมีใบสั่งให้การโหวตเลือก กกต อาจซ้ำรอยล้มกระดานเหมือนกับการเลือก กกตรอบแรก นพเจตน์กล่าวว่า ไม่คิดว่าเป็นไปตามกระแสข่าว เพราะการคัดเลือกบุคคลให้เป็น กกตรอบล่าสุด ทางคณะกรรมการสรรหาฯ ต้องใช้ความรอบคอบมากยิ่งขึ้น ยอมรับว่าการทำงานของคณะกรรมการสรรหาฯ มีข้อจำกัดด้วยเงื่อนไขด้านเวลา ซึ่งการตรวจสอบด้านประวัติและพฤติกรรมเชิงลึกถือเป็นภาระหนักที่ต้องทำให้รัดกุมขึ้น เชื่อว่าการเลือก กกตครั้งนี้ อาจมีผลเป็นไปในทิศทางที่ลงมติเห็นชอบบางคน และบางคนไม่เห็นชอบ เพื่อให้บุคคลที่ผ่านการลงมติเข้าไปเตรียมพร้อมและสร้างความคุ้นเคยต่อระบบการจัดการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้น แต่กรณีที่ สนชจะลงมติไปในทางใดนั้น ต้องขึ้นอยู่กับรายงานของคณะกรรมการตรวจสอบประวัติฯ และการนำรายงานการตรวจสอบให้ สนช ได้ไตร่ตรองก่อนลงมติ โฆษกวิป สนชกล่าว ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับบุคคลที่คณะกรรมการสรรหาฯ คัดเลือกและเตรียมเข้าสู่วาระประชุม สนช จำนวน 5 คน ประกอบด้วย 1นายสันทัด ศิริอนันต์ไพบูลย์ นักวิชาการสาขาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 2นายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 3นายอิทธิพร บุญประคอง อดีตอธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย และอดีตเอกอัครราชทูต ณ กรุงไนโรบี สาธารณรัฐเคนยา และกรุงเฮก ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ 4นายพีระศักดิ์ หินเมืองเก่า อดีตผู้ว่าราชการหลายจังหวัด และ 5นายธวัชชัย เทอดเผ่าไทย อดีตสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท) ส่วนบุคคลที่ได้รับการเสนอให้แต่งตั้งเป็น กกต อีก 2 คนที่มาจากสายศาลนั้น มติของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกายืนยันส่งชื่อนายฉัตรไชย จันทร์พรายศรี ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา และนายปกรณ์ มหรรณพ ผู้พิพากษาศาลฎีกา...
สนาม: เครือข่ายคนโหน่ง
บทนำ: จำตอน ทักษิณ ชินวัตร เข้าสู่การเมืองใหม่ๆ ได้หรือเปล่า? ตาดูดาวเท้าติดดินก้าวสู่เวทีการเมือง ด้วยภาพลักษณ์ของนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงพร้อมคำประกาศได้ยินกันทั้งบ้านทั้งเมืองว่า ผมเข้ามาเล่นการเมืองเพราะอยากทำประโยชน์ให้กับชาติบ้านเมือง ผมรวยแล้วผมไม่โกง แล้วเป็นไง ผลประโยชน์ทับซ้อน ทุจริตเชิงนโยบาย ระหว่างที่ ทักษิณ บริหารประเทศ เครือข่ายธุรกิจของ ทักษิณ และบริวาร ได้รับอานิสงส์กันทั่วหน้า สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ บิ๊กเบิ้มไทยซัมมิท อาของ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ นั่งเก้าอี้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ตำแหน่งทางการเมือง กับธุรกิจครอบครัว ทับซ้อน และส่อให้เห็นถึงการเอื้อประโยชน์อย่างมหาศาล แต่ ทักษิณ-สุริยะ สะกดคำว่าสปิริตไม่ออก ขณะที่ สุริยะ นั่งเก้าอี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ปี ๒๕๔๔-๒๕๔๘ ไทยซัมมิท มีบริษัทลูกนับร้อยบริษัท และหลายบริษัทได้รับประโยชน์จากนโยบายรัฐบาลในขณะนั้น แน่นอน ไม่เฉพาะไทยซัมมิทที่ได้ประโยชน์ บริษัทอื่นก็ได้ด้วยเช่นกัน เพราะเป็นนโยบายช่วยเหลือภาคธุรกิจไม่ได้เจาะจงว่าเป็นของใคร แต่ที่ต้องเท้าความถึง เพราะ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ไปพูดหลายที่ และหลายครั้งพูดเรื่องเดียวกันแต่ดันไม่เหมือนกัน จึงอาจสะท้อนแนวคิดที่เข้ามาเล่นการเมืองว่า อาจซ้ำรอย ทักษิณ หรือไม่ รวยแล้วไม่โกง! ไม่มีใครรู้อนาคตว่า อนาคตใหม่ ภายใต้การนำของ ธนาธร จะได้เข้ามาบริหารประเทศหรือไม่ ธนาธร จะได้เป็นนายกรัฐมนตรีตามที่เขาประกาศไว้หรือไม่ แต่ทักษิณประกาศและได้เป็นนายกรัฐมนตรีสมใจ ซึ่งจบด้วยการโกง มีทัศนะที่น่าสนใจของ ธนาธร ให้สัมภาษณ์ themomentumco เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา กับคำถามที่ว่า การที่คุณมีโปรไฟล์เป็นนักธุรกิจระดับแนวหน้า คนก็อาจตั้งแง่ว่า นี่ไง นักธุรกิจลงมาเล่นการเมืองอีกแล้ว (ยักไหล่) คุณจะให้ผมทำยังไง ผมทำอะไรไม่ได้มากกว่านี้ ถ้านิยามตัวผมว่าผมคือใคร ผมคือนักธุรกิจรุ่นใหม่ที่ไม่เกรงกลัวโลกาภิวัตน์ ผมคือนักผจญภัยที่กล้าเสี่ยง ผมคือคนที่มีใจรักความยุติธรรม แล้วลงมาทำด้วยตัวเอง ถ้าผมไม่ประสบความสำเร็จในธุรกิจ การยอมรับจากสังคมก็คงไม่มีมากขนาดนี้ ดังนั้น ถามว่ามันเป็นข้อดีหรือข้อเสียในการเป็นนักธุรกิจมาก่อน ผมว่าเป็นข้อดี แน่นอน คนอาจเคลือบแคลงต่อธุรกิจของผม แต่ผมบอกเลยว่าธุรกิจของผมเป็นธุรกิจที่เปิดเสรี ผมแทบจะนึกอะไรไม่ออกเลย ที่อำนาจรัฐจะทำให้ผมมีความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น มันเป็นธุรกิจที่เสรี ใครอยากจะตั้งโรงงานชิ้นส่วนยานยนต์ก็สามารถตั้งได้เลย กำแพงที่จะกีดกันผู้เล่นรายใหม่มันน้อยมาก ทุกวันนี้คู่แข่งของเราแทบจะไม่ใช่คู่แข่งในประเทศอยู่แล้ว แล้วในเวทีที่บริษัทเราไปตั้งในต่างประเทศ คู่แข่งของเราคืออินเดีย เวียดนาม จีน อเมริกา ญี่ปุ่น เป็นคู่แข่งระดับโลก กฎกติกาเป็นสากล ในธุรกิจนี้ไม่มี local content (ข้อบังคับว่าอุตสาหกรรมหนึ่งๆ ต้องใช้วัตถุดิบจากท้องถิ่น ห้ามนำเข้า) ไม่สามารถปกป้องธุรกิจท้องถิ่นได้ ต่อให้พวกเราได้เป็นรัฐบาล แล้วรัฐบาลยก local content ขึ้นมาก็ผิดกฎองค์การการค้าโลก (WTO) ฉะนั้น ผมนึกอะไรไม่ออกเลยว่า ถ้าพรรคของผมเป็นรัฐบาลแล้ว จะเป็นประโยชน์เฉพาะกลุ่มให้กับตัวเองได้อย่างไร ธุรกิจที่เปิดการแข่งขันเสรีอย่างที่ไทยซัมมิททำอยู่ คนที่จะพึ่งพาคือตัวเราเอง ในวันที่ผมทำงานอยู่ ผมไม่เคยคาดหวังหรือขออะไรจากภาครัฐ นอกจากสิทธิที่อุตสาหกรรมทั่วไปได้อยู่แล้ว ก็คือ BOI แต่สิทธิตัวอื่นที่เฉพาะเจาะจงนั้นไม่มี ที่ผ่านมาเรายืนบนขาตัวเองตลอด ทำอย่างไรจะผลิตสินค้ามีคุณภาพ ทำอย่างไรให้บริการเราฉับไวตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้เต็มที่ ทำอย่างไรจะเพิ่มนวัตกรรมเพื่อเพิ่มผลิตภาพในองค์กรได้ ทุกวันเราหายใจเข้าหายใจออกเป็นเรื่องเหล่านี้ มันเป็นข้อดีที่ทำให้ผมเป็นแบบผมได้ ถ้าเป็นธุรกิจที่ต้องขอสัมปทาน ต้องพึ่งพาหรือสัมพันธ์กับรัฐมาก ผมอาจไม่สามารถแสดงจุดยืนทางการเมืองแบบนี้ได้ ถัดมาช่วงหลังสงกรานต์ ธนาธร บรรยายพิเศษบนเวที Who talk ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ต้องยกเลิกสิทธิประโยชน์ด้านการลงทุน เพราะสิทธิพิเศษนี้กำหนดให้บริษัทที่มีเงินลงทุนจำนวนมหาศาลไม่ต้องจ่ายภาษีให้รัฐ ขณะที่ธุรกิจขนาดเล็กต้องจ่ายภาษีจึงไม่เป็นธรรม รวมถึงต้องเก็บภาษีหุ้นนิติบุคคล จากที่เคยมีสิทธิประโยชน์ด้านภาษี คือไม่ต้องจ่ายภาษีจากการลงทุนและการซื้อหุ้นขายหุ้น ซึ่งผมเห็นว่าไม่เป็นธรรมกับคนในสังคมส่วนใหญ่ มันหมายถึงอะไร? วันหนึ่งบอกว่า ไม่เคยคาดหวังหรือขออะไรจากภาครัฐ นอกจากสิทธิที่อุตสาหกรรมทั่วไปได้อยู่แล้ว ก็คือ BOI มาอีกวันบอกว่า ต้องยกเลิกสิทธิประโยชน์ด้านการลงทุน ทั้งๆ ที่รู้ว่ามันเป็นไปไม่ได้ และใช่ว่าบริษัทเล็กจะไม่ได้ประโยชน์จากสิ่งนี้ เพราะก้าวสู่การเมืองหรือเปล่าที่ต้องพูดให้ตัวเองดูดี แต่ที่ผ่านมา บริษัทในเครือไทยซัมมิทน้อยใหญ่ ได้สิทธิประโยชน์ไปเท่าไหร่แล้ว ถ้ามีความคิดเช่นนี้แต่แรกทำไมถึงขอรับสิทธิประโยชน์ ก็ดูไว้ทักษิณเข้ามาใหม่ๆ ใช้การตลาดสร้างภาพจนประชาชนตายใจ สุดท้ายวันนี้ไม่มีแผ่นดินอยู่
ลิงค์ที่เป็นมิตรเวลาปัจจุบัน:2021-04-17